วันพฤหัสบดีที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

การยืมคำจากภาษาอื่น

ภาษาไทยเป็นภาษาหนึ่งที่มีการยืมคำมาจากภาษาอื่นๆค่อนข้างสูงมาก มีทั้งแบบยืมมาจากภาษาในตระกูลภาษาไท-กะได ด้วยกันเอง และข้ามตระกูลภาษา โดยส่วนมากจะยืมมาจากภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต และภาษาเขมร ซึ่งมีทั้งรักษาคำเดิม ออกเสียงใหม่ สะกดใหม่ หรือเปลี่ยนความหมายใหม่ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน บางครั้งเป็นการยืมมาซ้อนคำ เกิดเป็นคำซ้อน คือ คำย่อยในคำหลัก มีความหมายเดียวกันทั้งสอง เช่น
  • ดั้งจมูก โดยมีคำว่าดั้ง เป็นคำในภาษาไต ส่วนจมูก เป็นคำในภาษาเขมร
  • อิทธิฤทธิ์ มาจาก อิทธิ ในภาษาบาลี ซ้อนกับคำว่า ฤทธิ ในภาษาสันสกฤต โดยทั้งสองคำมีความหมายเดียวกัน

คำที่ยืมมาจากภาษาบาลี-สันสกฤต

คำจำนวนมากในภาษาไทย ไม่ใช้คำในกลุ่มภาษาไต แต่เป็นคำที่ยืมมาจากกลุ่มภาษาสันสกฤต-ปรากฤต โดยมีตัวอย่างดังนี้

คำที่ยืมมาจากภาษาบาลี-สันสกฤต

คำจำนวนมากในภาษาไทย ไม่ใช้คำในกลุ่มภาษาไต แต่เป็นคำที่ยืมมาจากกลุ่มภาษาสันสกฤต-ปรากฤต โดยมีตัวอย่างดังนี้
รักษารูปเดิม หรือเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย
  • วชิระ (บาลี:วชิระ วัชระ (สันส:วัชร)
  • ศัพท์ (สันส:ศัพทะ), สัท (เช่น สัทอักษร) (บาลี:สัททะ)
  • อัคนี และ อัคคี (สันส:อัคนิ บาลี:อัคคิ)
  • โลก (โลก) - (บาลี-สันส:โลกะ)
  • ญาติ (ยาด) - (บาลี:ญาติ (ยา-ติ))
เสียง พ มักแผลงมาจาก ว
  • เพียร (มาจาก พิริยะ และมาจาก วิริยะ อีกทีหนึ่ง) (สันส:วีรยะ, บาลี:วิริยะ)
  • พฤกษา (สันส:วฤกษะ)
  • พัสดุ (สันส: (วัสตุ); บาลี: (วัตถุ))
เสียง -อระ เปลี่ยนมาจาก -ะระ
  • หรดี (หอ-ระ-ดี) (บาลี:หรติ (หะระติ))
เสียง ด มักแผลงมาจาก ต
  • หรดี (หอ-ระ-ดี) (บาลี:หรติ (หะระติ))
  • เทวดา (บาลี:เทวะตา)
  • วัสดุ และ วัตถุ (สันส: (วัสตุ); บาลี: (วัตถุ))
  • กบิลพัสดุ์ (กะ-บิน-ละ-พัด) (สันส: (กปิลวัสตุ); บาลี:(กปิลวัตถุ))
เสียง บ มักแผลงมาจาก ป
  • กบิลพัสดุ์ (กะ-บิน-ละ-พัด) (สันส:(กปิลวัสตุ); บาลี:(กปิลวัตถุ))
  • บุพเพ และ บูรพ (บาลี: (ปุพพ))

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น