วันอาทิตย์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

แบบทดสอบก่อนเรียน

แบบทดสอบก่อนเรียน
แบบทดสอบก่อนเรียน
เรื่อง  หลักภาษาไทย
1. ภาษาไทยเป็นภาษาในกลุ่มภาษาใด ?
ภาษาอันเดีย
ภาษาจีน
ภาษาไต
ภาษาอังกฤษ
2.ข้อใดไม่มีคำที่มาจากภาษาบาลีหรือภาษาสันสกฤต ?
อย่าเลี้ยงลูกให้เป็นเทวดา
ชื่อของเขาอยู่ในทำเนียบรุ่น
เราต้องใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง
ภรรยาของเขาทำงานอยู่ที่นี่
3. ระบบเสียงในภาษาไทยแบ่งออกเป็นกี่ส่วน ?
5ส่วน
4ส่วน
3ส่วน
2ส่วน
4. ข้อใดไม่ไช้เสียงกักและเสียงผสมเสียดแทรก ?
เสียงไม่ก้อง ไม่พ่นลม
เสียงไม่ก้อง พ่นลม
เสียงไม่ก้อง ไม่พ่นลม
เสียงก้อง พ่นลม
5. เสียงพยัญชนะต้นโดยรวมแบ่งเป็นกี่เสียง ?
21เสียง
22เสียง
23เสียง
24เสียง
6. เสียงสะกด 8 เสียง และรวมทั้งไม่มีเสียงด้วย เรียกว่าอะไร ?
ปุ่มเหงือก
มาตรา
พยัญชนะก้อง
พยัญชนะต้น
7. กลุ่มพยัญชนะในภาษาไทยทีกี่กลุ่ม ?
10กลุ่ม
11กลุ่ม
12กลุ่ม
13กลุ่ม
8. ข้อใดไม่ใช้เสียงสระในภาษาไทย ?
สระเกิน
สระสูง
สระประสม
สระเดี่ยว
9. เสียงวรรณยุกต์ใดมีสัยง สูง-ต่ำ ?
ตรี
โท
เอก
สามัญ
10. ข้อใดใช้สำนวนต่างประเทศ ?
บริษัทค้าหอยทากจ่ายค่าแรงให้แก่คนงานประมาณ ๔๕ บาทต่อหอยทากน้ำหนัก ๑๐ ปอนด์
หญิงชาวแอฟริกาลองกินหอยทาก แล้วเธอก็ได้พบกับความประหลาดใจว่าเธอชอบมันมาก
ประเทศในแถบยุโรปล้วนเป็นถิ่นที่คนจำนวนมากต้องการบริโภคหอยทาก
นักกินหอยทากจะใช้คีมคีบเปลือกหอยไว้ในมือข้างหนึ่ง ส่วนมืออีกข้างก็ถือส้อมเล็ก ๆดึงเนื้อหอยออกจากเปลือก
คิดเป็นเปอร์เซ็นต์

แบบทดสอบหลังเรียน

แบบทดสอบก่อนเรียน
แบบทดสอบก่อนเรียน
เรื่อง  หลักภาษาไทย

1. เสียงสะกด 8 เสียง และรวมทั้งไม่มีเสียงด้วย เรียกว่าอะไร ?
ปุ่มเหงือก
มาตรา
พยัญชนะก้อง
พยัญชนะต้น
2. กลุ่มพยัญชนะในภาษาไทยทีกี่กลุ่ม ?
10กลุ่ม
11กลุ่ม
12กลุ่ม
13กลุ่ม
3. ข้อใดไม่ใช้เสียงสระในภาษาไทย ?
สระเกิน
สระสูง
สระประสม
สระเดี่ยว
4. เสียงวรรณยุกต์ใดมีสัยง สูง-ต่ำ ?
ตรี
โท
เอก
สามัญ
5. ข้อใดใช้สำนวนต่างประเทศ ?
บริษัทค้าหอยทากจ่ายค่าแรงให้แก่คนงานประมาณ ๔๕ บาทต่อหอยทากน้ำหนัก ๑๐ ปอนด์
หญิงชาวแอฟริกาลองกินหอยทาก แล้วเธอก็ได้พบกับความประหลาดใจว่าเธอชอบมันมาก
ประเทศในแถบยุโรปล้วนเป็นถิ่นที่คนจำนวนมากต้องการบริโภคหอยทาก
นักกินหอยทากจะใช้คีมคีบเปลือกหอยไว้ในมือข้างหนึ่ง ส่วนมืออีกข้างก็ถือส้อมเล็ก ๆดึงเนื้อหอยออกจากเปลือก
6. ภาษาไทยเป็นภาษาในกลุ่มภาษาใด ?
ภาษาอันเดีย
ภาษาจีน
ภาษาไต
ภาษาอังกฤษ
7.ข้อใดไม่มีคำที่มาจากภาษาบาลีหรือภาษาสันสกฤต ?
อย่าเลี้ยงลูกให้เป็นเทวดา
ชื่อของเขาอยู่ในทำเนียบรุ่น
เราต้องใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง
ภรรยาของเขาทำงานอยู่ที่นี่
8. ระบบเสียงในภาษาไทยแบ่งออกเป็นกี่ส่วน ?
5ส่วน
4ส่วน
3ส่วน
2ส่วน
9. ข้อใดไม่ไช้เสียงกักและเสียงผสมเสียดแทรก ?
เสียงไม่ก้อง ไม่พ่นลม
เสียงไม่ก้อง พ่นลม
เสียงไม่ก้อง ไม่พ่นลม
เสียงก้อง พ่นลม
10. เสียงพยัญชนะต้นโดยรวมแบ่งเป็นกี่เสียง ?
21เสียง
22เสียง
23เสียง
24เสียง
คิดเป็นเปอร์เซ็นต์

วันพฤหัสบดีที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

การยืมคำจากภาษาอื่น

ภาษาไทยเป็นภาษาหนึ่งที่มีการยืมคำมาจากภาษาอื่นๆค่อนข้างสูงมาก มีทั้งแบบยืมมาจากภาษาในตระกูลภาษาไท-กะได ด้วยกันเอง และข้ามตระกูลภาษา โดยส่วนมากจะยืมมาจากภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต และภาษาเขมร ซึ่งมีทั้งรักษาคำเดิม ออกเสียงใหม่ สะกดใหม่ หรือเปลี่ยนความหมายใหม่ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน บางครั้งเป็นการยืมมาซ้อนคำ เกิดเป็นคำซ้อน คือ คำย่อยในคำหลัก มีความหมายเดียวกันทั้งสอง เช่น
  • ดั้งจมูก โดยมีคำว่าดั้ง เป็นคำในภาษาไต ส่วนจมูก เป็นคำในภาษาเขมร
  • อิทธิฤทธิ์ มาจาก อิทธิ ในภาษาบาลี ซ้อนกับคำว่า ฤทธิ ในภาษาสันสกฤต โดยทั้งสองคำมีความหมายเดียวกัน

คำที่ยืมมาจากภาษาบาลี-สันสกฤต

คำจำนวนมากในภาษาไทย ไม่ใช้คำในกลุ่มภาษาไต แต่เป็นคำที่ยืมมาจากกลุ่มภาษาสันสกฤต-ปรากฤต โดยมีตัวอย่างดังนี้

คำที่ยืมมาจากภาษาบาลี-สันสกฤต

คำจำนวนมากในภาษาไทย ไม่ใช้คำในกลุ่มภาษาไต แต่เป็นคำที่ยืมมาจากกลุ่มภาษาสันสกฤต-ปรากฤต โดยมีตัวอย่างดังนี้
รักษารูปเดิม หรือเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย
  • วชิระ (บาลี:วชิระ วัชระ (สันส:วัชร)
  • ศัพท์ (สันส:ศัพทะ), สัท (เช่น สัทอักษร) (บาลี:สัททะ)
  • อัคนี และ อัคคี (สันส:อัคนิ บาลี:อัคคิ)
  • โลก (โลก) - (บาลี-สันส:โลกะ)
  • ญาติ (ยาด) - (บาลี:ญาติ (ยา-ติ))
เสียง พ มักแผลงมาจาก ว
  • เพียร (มาจาก พิริยะ และมาจาก วิริยะ อีกทีหนึ่ง) (สันส:วีรยะ, บาลี:วิริยะ)
  • พฤกษา (สันส:วฤกษะ)
  • พัสดุ (สันส: (วัสตุ); บาลี: (วัตถุ))
เสียง -อระ เปลี่ยนมาจาก -ะระ
  • หรดี (หอ-ระ-ดี) (บาลี:หรติ (หะระติ))
เสียง ด มักแผลงมาจาก ต
  • หรดี (หอ-ระ-ดี) (บาลี:หรติ (หะระติ))
  • เทวดา (บาลี:เทวะตา)
  • วัสดุ และ วัตถุ (สันส: (วัสตุ); บาลี: (วัตถุ))
  • กบิลพัสดุ์ (กะ-บิน-ละ-พัด) (สันส: (กปิลวัสตุ); บาลี:(กปิลวัตถุ))
เสียง บ มักแผลงมาจาก ป
  • กบิลพัสดุ์ (กะ-บิน-ละ-พัด) (สันส:(กปิลวัสตุ); บาลี:(กปิลวัตถุ))
  • บุพเพ และ บูรพ (บาลี: (ปุพพ))

ไวยากรณ์

ภาษาไทยเป็นภาษาคำโดด คำในภาษาไทยจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปไม่ว่าจะอยู่ในกาล (tense) การก  มาลา หรือวาจก  ใดก็ตาม คำในภาษาไทยไม่มีลิงก์ ไม่มีพจน์ ไม่มีวิภัตติปัจจัย แม้คำที่รับมาจากภาษาผันคำ (ภาษาที่มีวิภัตติปัจจัย) เป็นต้นว่าภาษาบาลีสันสกฤต เมื่อนำมาใช้ในภาษาไทย ก็จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูป คำในภาษาไทยหลายคำไม่สามารถกำหนดหน้าที่ของคำตายตัวลงไปได้ ต้องอาศัยบริบทเข้าช่วยในการพิจารณา เมื่อต้องการจะผูกประโยค ก็นำเอาคำแต่ละคำมาเรียงติดต่อกันเข้า ภาษาไทยมีโครงสร้างแตกกิ่งไปทางขวา คำคุณศัพท์จะวางไว้หลังคำนาม ลักษณะทางวากยสัมพันธ์โดยรวมแล้วจะเป็นแบบ 'ประธาน-กริยา-กรรม'

วรรณยุกต์

เสียงวรรณยุกต์ ในภาษาไทย (เสียงดนตรีหรือเสียงผัน) จำแนกออกได้เป็น 5 เสียง ได้แก่

เสียงวรรณยุกต์
ตัวอย่าง
เสียงสามัญ (ระดับเสียงกลาง)
นา
เสียงเอก (ระดับเสียงต่ำ)
หน่า
เสียงโท (ระดับเสียงสูง-ต่ำ)
หน้า
เสียงตรี (ระดับเสียงกลาง-สูง หรือ สูงอย่างเดียว)
น้า
เสียงจัตวา (ระดับเสียงต่ำ-กึ่งสูง)
หนา

ส่วน รูปวรรณยุกต์ มี 4 รูป ได้แก่
  • ไม้เอก ( -่ )
  • ไม้โท ( -้ )
  • ไม้ตรี ( -๊ )
  • ไม้จัตวา ( -๋ )
ทั้งนี้คำที่มีรูปวรรณยุกต์เดียวกัน ไม่จำเป็นต้องมีระดับเสียงวรรณยุกต์เดียวกัน ขึ้นอยู่กับระดับเสียงของอักษรนำด้วย เช่น ข้า (ไม้โท) ออกเสียงโทเหมือน ค่า (ไม้เอก) เป็นต้น

สระ

เสียงสระในภาษาไทยแบ่งออกเป็น 3 ชนิดคือ สระเดี่ยว สระประสม และสระเกิน สะกดด้วยรูปสระพื้นฐานหนึ่งตัวหรือหลายตัวร่วมกัน
สระเดี่ยว หรือ สระแท้ คือสระที่เกิดจากฐานเพียงฐานเดียว มีทั้งสิ้น 18 เสียง

ลิ้นส่วนหน้า
ลิ้นส่วนหลัง
ปากเหยียด
ปากเหยียด
ปากห่อ
สั้น
ยาว
สั้น
ยาว
สั้น
ยาว
ลิ้นยกสูง
ลิ้นกึ่งสูง
อะ
ลิ้นกึ่งต่ำ
าะ
ลิ้นลดต่ำ

สระประสม คือสระที่เกิดจากสระเดี่ยวสองเสียงมาประสมกัน เกิดการเลื่อนของลิ้นในระดับสูงลดลงสู่ระดับต่ำ ดังนั้นจึงสามารถเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "สระเลื่อน" มี 3 เสียงดังนี้
  • เ–ีย ประสมจากสระ อี และ อา
  • เ–ือ ประสมจากสระ อือ และ อา
  • –ัว ประสมจากสระ อู และ อา
ในบางตำราจะเพิ่มสระสระประสมเสียงสั้น คือ เ–ียะ เ–ือะ –ัวะ ด้วย แต่ในปัจจุบันสระเหล่านี้ปรากฏเฉพาะคำเลียนเสียงเท่านั้น เช่น เพียะ เปรี๊ยะ ผัวะ เป็นต้น

สระเกิน คือสระที่มีเสียงของพยัญชนะปนอยู่ มี 8 เสียงดังนี้
  • –ำ ประสมจาก อะ + ม (อัม) บางครั้งออกเสียงยาวเวลาพูด (อาม)
  • ใ– ประสมจาก อะ + ย (อัย) บางครั้งออกเสียงยาวเวลาพูด (อาย)
  • ไ– ประสมจาก อะ + ย (อัย) บางครั้งออกเสียงยาวเวลาพูด (อาย)
  • เ–า ประสมจาก อะ + ว (เอา) บางครั้งออกเสียงยาวเวลาพูด (อาว)
  • ฤ ประสมจาก ร + อึ (รึ) บางครั้งเปลี่ยนเป็น (ริ) หรือ (เรอ)
  • ฤๅ ประสมจาก ร + อือ (รือ)
  • ฦ ประสมจาก ล + อึ (ลึ)
  • ฦๅ ประสมจาก ล + อือ (ลือ)

บางตำราก็ว่าสระเกินเป็นพยางค์ ไม่ถูกจัดว่าเป็นสระ
สระบางรูปเมื่อมีพยัญชนะสะกด จะมีการเปลี่ยนแปลงรูปสระ

1. คำที่สะกดด้วย –ะ + ว นั้นไม่มี เพราะซ้ำกับ –ัว แต่เปลี่ยนไปใช้ เ–า แทน
2. คำที่สะกดด้วย –อ + ร จะลดรูปเป็น –ร ไม่มีตัวออ เช่น พร ศร จร ซึ่งก็จะไปซ้ำกับสระ โ–ะ ดังนั้นคำที่สะกดด้วย โ–ะ + ร จึงไม่มี
3. คำที่สะกดด้วย เ–อ + ย จะลดรูปเป็น เ–ย ไม่มีพินทุ์อิ เช่น เคย เนย เลย ซึ่งก็จะไปซ้ำกับสระ เ– ดังนั้นคำที่สะกดด้วย เ– + ย จึงไม่มี
4. พบได้น้อยคำเท่านั้นเช่น เทอญ เทอม
5. มีพยัญชนะสะกดเป็น ย เท่านั้น เช่น ไทย ไชย

สระเสียงสั้น
สระเสียงยาว
สระเกิน
ไม่มีตัวสะกด
มีตัวสะกด
ไม่มีตัวสะกด
มีตัวสะกด
ไม่มีตัวสะกด
มีตัวสะกด
–¹
(ไม่มี)
(ไม่มี)
ือ
––
(ไม่มี)
––
, –
–, –
––
ฤๅ
(ไม่มี)
––
––
, –
–, –
าะ
็อ
–²
ฦๅ
(ไม่มี)
ัวะ
(ไม่มี)
ัว
ียะ
(ไม่มี)
ีย
ีย
ือะ
(ไม่มี)
ือ
ือ
อะ
(ไม่มี)
–³,